วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เล่น Chat… ในเวลางานบ่อย เลิกจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

                   ความคาดหวังของนายจ้าง เมื่อจ้างพนักงานมาแล้วก็ต้องการให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่  ในกรณีที่พนักงานไม่สนใจในการทำงาน ใช้เวลาทำงานทำอย่างอื่น เช่นสนทนากับเพื่อนผ่านโปรแกรมทางอินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟน บ่อยครั้ง  ระวังไว้นะ!!!  นายจ้างไม่พอใจสามารถเลิกจ้างได้

ฎีกาที่  2564/2557
                        ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างทดลองงาน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากในเวลาทำงานโจทก์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยในเรื่องส่วนตัวและบันทึกข้อความทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มีตามเอกสารหมาย ล.3 ถึง ล.6 ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยไปในเรื่องไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งที่อยู่ในระยะเวลาทดลองงานแทนที่จะทุ่มทำในให้จำเลยอย่างเต็มที่ โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความระเอียดรอบคอบมิฉะนั้นจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกกล่างล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และการที่โจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยทำในเรื่องส่วนตัวย่อมจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน      
                        ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การระทำของโจทก์ไม่ถึงกับเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 583 เนื่องจากโจทก์มิได้กระทำความผิดร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุเพียงว่า ถ้าลูกจ้างทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า...เท่านั้น หาได้ขยายความไปถึงกับว่าเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงไม่แก่อย่างใด อย่างไรก็ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่ฟังว่าพฤติกรรมของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายได้ จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย