วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หนังสือเตือนต้องระบุอย่างไร

                  ในการควบคุมบังคับบัญชาลูกจ้างของนายจ้าง  มีมาตรการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างประการหนึ่งคือการลงโทษโดยการตักเตือนเป็นหนังสือ แล้วหนังสือลงโทษโดยการตักเตือนเป็นหนังสือจะต้องร่างอย่างไรจึงจะสอดรับกับกฎหมาย และสามารถใช้บังคับได้เมื่อกรณีมีปัญหาทางศาล  ไม่ใช่ออกไปแล้วปรากฎว่าเสียไป  ปล่าวประโยชน์ไม่สามารถบังคับใช้ได้ กรณีนี้ลูกจ้างเคยหยิบยกขึ้นต่อสู้นายจ้างในชั้นศาลว่าหนังสือเตือนดังกล่าวที่นายจ้างออกมาให้นั้นระบุไม่ครบถ้วนไม่สามารถใช้บังคับได้และคดีนั้นลูกจ้างเป็นฝ่ายชนะคดี  ดังนั้น ในการออกหนังสือลงโทษโดยการตักเตือนเป็นหนังสือจะต้องระวัง  
หนังสือเตือนต้องระบุอย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๒๙๖๖/๒๕๕๕
       หนังสือเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ วรรคหนึ่ง จะต้องมีข้อความระบุถึง (๑) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของลูกจ้าง (๒) พร้อมทั้งข้อห้ามไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดซ้ำอีก แต่ตามเอกสารหมาย ล.๓ มิได้มีข้อความดังกล่าวให้ชัดเจน เพียงระบุว่าโจทก์กระทำผิดอย่างไรอันเป็นเหตุให้กรรมการบริหารจำเลยต้องสั่งลดเงินเดือนลง ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไปเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมาย แต่เป็นเพียงหนังสือแจ้งเหตุผลที่จำเลยลดเงินเดือนโจทก์ลงแต่เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างหนังสือเตือน