ฎีกาที่ 10161/2551
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 การลาออกของโจทก์จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานซึ่งหลังจากโจทก์แสดงเจตนาลาออกต่อจำเลยแล้ว โจทก์ไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง และไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะมีผลต่อเมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องอนุมัติเสียก่อน ดังนั้น การลาออกของโจทก์จึงมีผลตามวันเวลาที่โจทก์กำหนดไว้ทันทีนับแต่วันแสดงเจตนา ส่วนการที่จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออกจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ ก็มิใช่การเลิกจ้าง เพียงแต่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดตามที่โจทก์แสดงเจตนาเท่านั้น และจะเสียหายเช่นใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 การลาออกของโจทก์จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานซึ่งหลังจากโจทก์แสดงเจตนาลาออกต่อจำเลยแล้ว โจทก์ไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง และไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะมีผลต่อเมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องอนุมัติเสียก่อน ดังนั้น การลาออกของโจทก์จึงมีผลตามวันเวลาที่โจทก์กำหนดไว้ทันทีนับแต่วันแสดงเจตนา ส่วนการที่จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออกจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ ก็มิใช่การเลิกจ้าง เพียงแต่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดตามที่โจทก์แสดงเจตนาเท่านั้น และจะเสียหายเช่นใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อ
2.1 ตอนท้าย และข้อ 2.2 ตามที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับไว้พิจารณาว่า
การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออกเป็นการเลิกจ้างอันมีผลทำให้จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชย
และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์หรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า
การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือโจทก์ลาออกจากงานเองต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในขณะที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานนั้นเองว่าเป็นการเลิกจ้างหรือไม่
มิใช่เอาการแสดงเจตนาของโจทก์แต่เดิมมาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง
เห็นว่า การที่โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน
ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นนายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติการเลิกสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวจึงมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้
และหลังจากโจทก์แสดงเจตนาลาออกต่อจำเลยแล้ว ก็ไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 386 วรรคสองดังนั้น
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมจะมีผลสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2545
อันเป็นผลมาจากการแสดงเจตนาลาออกของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว แม้จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่โจทก์ประสงค์โดยโจทก์ไม่มีความผิดก็ตาม
ก็มีผลทำให้โจทก์เสียหายเพียงเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะออกเท่านั้น
ซึ่งในระหว่างพิจารณาจำเลยก็นำค่าจ้างของวันที่ 1 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2545
โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วมาวางศาลและโจทก์รับค่าจ้างดังกล่าวไปแล้วโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่าไม่ถูกต้องการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันมีผลที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์แต่อย่างใด
ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ชอบแล้ว