วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยไม่ชอบข้อบังคับ อ้างได้หรือ...

                         กรณีที่พนักงานกระทำความผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  มักจะมีข้อโต้แย้งเรื่่อง บริษัทฯ ไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือตนได้อุทธรณ์ร้องทุกข์ตามระเบียบการร้องทุกข์ของบริษัทฯ แล้วบริษัทฯ เพิกเฉย  และคิดว่าเมื่อตั้งคณะกรรมสอบสวนไม่ชอบ หรือบริษัทฯ ไม่ปฎิบัติตามระเบียบต้องทุกข์การลงโทษดังกล่าวไม่ชอบด้วยนั้น  ให้ดูฎีกานี้
ฎีกาที่  ๕๖๗๙/๒๕๕๕

                        โจทก์อุทธรณ์ว่า ที่จำเลยที่ ๒ (บริษัทฯ) กล่าวหาว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่เป็นการปฏิบัติผิดขั้นตอนตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ ๒ และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจว่าด้วยบรรษัทภิบาล จำเลยที่ ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบความผิดของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยระเบียบ และเมื่อโจทก์ทำหนังสือร้องทุกข์ของความเป็นธรรมต่อผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ ๒ ก็ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ หมวด ๗ ว่าด้วยการร้องทุกข์ เห็นว่าในปัญหาว่าจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ต้องร่วมกันจ่ายค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ หรือไม่ และจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ เลิกจ้างโจทก์มีเหตุผลสมควรหรือไม่ตามลำดับเป็นสำคัญ ส่วนจำเลยที่ ๒ จะปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือการร้องทุกข์หรือไม่ และไม่ว่าศาลแรงงานกลางจะนำระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ ๒ มาวินิจฉัยหรือไม่ก็ตามก็มิได้หมายความว่าโจทก์มิได้กระทำผิดอันจะมีผลกระทบถึงการพิจารณาคดีของศาลแต่อย่างใด เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่นำเงินที่ได้จากการขายสินค้าเข้าเครื่องระบบแคชเชียร์ภายในวันนั้นทันทีหลังจากปิดการขายตามระเบียบ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้จำเลยที่ ๒ ได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่  จึงมีเหตุอันสมควรในการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย