วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

นายจ้างต้องรับผิดในเงินเพิ่ม หรือไม่ พิจารณาจาก ?

ฎีกาที่  ๑๗๘๑๕/๒๕๕๕

                        โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโดยหนังสือเลิกจ้างมิได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๑) ถึง (๖) จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุตามมาตราดังกล่าวมาโต้แย้งที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยและต้องถือว่าคดีของโจทก์ในประเด็นค่าชดเชยไม่มีข้อโต้แย้ง ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าสิทธิของเงินเพิ่มที่โจทก์ฟ้องมานั้นคดีของโจทก์มีปัญหาโต้แย้งอยู่ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย จึงไม่ต้องรับผิดในเงินเพิ่มให้โจทก์ เป็นการวินิจฉัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้เมื่อจำเลยมิได้ระบุเหตุผลหรือข้อโต้แย้งในเรื่องเงินเพิ่มในหนังสือเลิกจ้าง จึงไม่อาจยกขึ้นมาต่อสู้ได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์นั้น เห็นว่าคดีนั้นได้ความว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินค่าชดเชย โดยจำเลยได้ให้การต่อสู้และโต้แย้งมาว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว กรณียังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่าจำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น